โรคเบาหวาน รักษายาวนาน เสี่ยงซึมเศร้าโรคเบาหวานเมื่อป่วยแล้วต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยจึงมีความเสี่ยงเกิดผลกระทบทางใจได้สูงกว่าคนทั่วไป ที่เป็นห่วงก็คือปัญหาความเครียดและซึมเศร้าจะมีผลต่อประสิทธิภาพการรักษาด้วย โดยมีผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้าสูงกว่าคนปกติทั่วไปประมาณ 2 เท่าตัว เมื่อมีปัญหาซึมเศร้าจะทำให้การดูแลตัวเองแย่ลง ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดไม่ปกติ จึงเสี่ยงเกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมาได้ง่ายอีกด้วย เช่น โรคหัวใจ ไตเสื่อม โรคสมองเสื่อม เป็นต้นนอกจากนี้ ปัญหาโรคเบาหวานขณะนี้ยังพบในผู้ป่วยจิตเวชมากขึ้นด้วย สาเหตุทั้งจากพฤติกรรมของผู้ป่วยเอง เช่น ขาดการออกกำลังกาย และจากผลข้างเคียงของยาบางชนิดที่อาจทำให้เพิ่มความอยากอาหาร ซึ่งหากไม่ดูแล หรือควบคุมอาหารให้ดี ก็จะทำให้อาการของโรคเบาหวานไม่ดีขึ้นอย่างที่ควรจะเป็นวิธีดูแลสุขภาพจิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานปัญหาสุขภาพจิตในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเฉพาะรายใหม่ มีข้อแนะนำให้ผู้ป่วยปฏิบัติ 4 ประการ ดังนี้ทำความเข้าใจกับโรคให้ดีที่สุด โดยสอบถามอาการและการรักษาจากแพทย์หรือพยาบาลให้เข้าใจ จะทำให้เกิดความมั่นใจ คลายความกลัว ความกังวล และปฏิบัติตามคำแนะนำเข้าร่วมกิจกรรมที่ รพ.จัดขึ้นร่วมกับเพื่อนผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งจะได้รับความรู้และวิธีการปฏิบัติตัวที่สำคัญ เช่น การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การดูแลจิตใจให้แจ่มใส และได้พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ดีๆ กับผู้ป่วยด้วยกันด้วยหากรู้สึกว่าอารมณ์ตึงเครียด ให้สลายความเครียดด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ฝึกการหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้อง นั่งสมาธิ ฝึกการผ่อนคลาย เป็นต้น สามารถขอคำแนะนำได้ที่สถานพยาบาลใกล้บ้านหมั่นดูอารมณ์ หากรู้สึกว่าอารมณ์ตัวเองเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น หงุดหงิดง่าย เบื่อหน่ายชีวิต จิตใจหดหู่ นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ไม่มีสมาธิทำงานหรือทำกิจวัตรประจำวัน โดยมีอาการติดต่อกันนานเกิน 2 สัปดาห์ ขอให้รีบปรึกษา อสม. หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่อยู่ใกล้บ้าน หรือโทร. ปรึกษาที่สายด่วนสุขภาพจิตหมายเลข 1323 ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ได้รับการดูแลที่เหมาะสมอย่างทันท่วงทีเพิ่มเติม>
slotxo